ความเป็นมา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ประวัติความเป็นมา

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ ไม่อาจนับจำนวน ปีที่ที่แน่นอนได้  เพียงแต่ประมาณเวลาได้เท่านั้น นักการศาสนา นักปรัชญา  นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคของลัทธิ ศาสนานี้ออกเป็นหลายแบบแตกต่างกัน เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) แบ่งตามแนวประวัติศาสตรเป็น 7 ยุค คือ ยุคก่อนอารยัน  ยุคอารยันเข้าอินเดีย ยุคฤคเวท ยุเวทต่าง ๆ  ยุคพราหมณะ ยุอุปนิษัท และยุคพุทธกาล

 

 

 111
ตรีมูรติ  เทพเจ้าสามองค์ในร่างเดียวกัน ของพราหมณ์-ฮินดู

22 ตรีมูรติ  เทพเจ้าสามองค์ในร่างเดียวกัน ของพราหมณ์-ฮินดู

33   พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาโลก กับพระลักษมี

66 พระศิวะหรือพระอิศวร เทพเจ้าผู้ทำลาย

     ศาสนาพราหมณ์ เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศาสนา ประมาณ 1,000 ปีขึ้นไป พระพุทธเจ้า ขณะยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ไปศึกษา คำสอนของศาสนาพราหมณ์จนจบไตรเพท จบโยคะ และหมดคำสอน ของอาจารย์ (คืออาฬาระดาบส กับอุททกะดาบส) ศาสนาพราหมณ์ ไม่มีองค์พระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์เหมือนศาสนาอื่น ๆ  แต่ก่อรูปขึ้นจากลัทธิบูชาธรรมชาติ และวิวัฒนาการเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้า ต่าง ๆ  หลายองค์  ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาธรรมชาติ แรกเริ่มเดิมที กำเนิดมาจากความเชื่อ ของชาวอารยันที่นับถือบูชากราบไหว้ธรรมชาติ และเชื่อว่า มีเทพเจ้าประจำ ธรรมชาตินั้น ๆ (ทำนองเดียวกันกับ การเชื่อ หรือการนับถือผีปู่ยา่า ตายาย ของไทยเราในสมัยโบราณ) เช่น  ในสมัยพระเวทตอนต้น ชาวอารยัน จัดเทพเจ้า เป็น 3 หมวด คือ พวกที่หนึ่งอยู่บนสวรรค์ ได้แก่ วรุณ (ฝน = ไทยเรียก พระพิรุณ) สูรย์ (พระอาทิตย์) โสมะ (พระจันทร์) อุษา (แสงเงินแสงทอง) เป็นต้น  พวกที่สองอยู่บนฟ้า  เป็นเทวดาประจำอากาศ ได้แก่ อินทระ (พระอินทร์ = ในศาสนาพุทธ เรียก ท้าวสักกะ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) มารุต (ลม) เป็นต้น  พวกที่สามอยู่บนพื้นโลก เป็นเทวดาประจำแผ่นดิน  ได้แก่ อัคนี (ไฟ) ปฤถวี (แผ่นดิน) และยม (พระยม) เป็นต้น  ในสมัยพระเวท นับถือพระอินทร์ว่า เป็นทพเจ้า สูงสุด มีสายฟ้าเป็นอาวุธ สามารถทำลายศัตรูให้พินาศราบคาบลงได้ชั่วพริบตา

ต่อมาในสมัยพราหมณะ เกิดคำสอนว่า มีเทพองค์หนึ่ง เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้า ทั้งหลาย เรียกว่า พระเป็นเจ้า หรือพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก รวมทั้งเทพเจ้า ทั้งหลาย และมนุษย์ แล้วขีดชะตาชีวิตให้  เรียกว่า พรหมเนรมิต และพรหมลิขิต ตามลำดับ (ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง พ่อแม่เท่านั้น สร้างโลก และสร้างมนุษย์  จึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็นพรหม) ในสมัยต่อมา ก็มีการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อถือ และลัทธิพิธีมาโดยลำดับทุกระยะ จากศตวรรษหนึ่ง ไปยังศตวรรษหนึ่ง กล่าวคือ  ได้เทวดาใหม่ ๆ  มาเพิ่มเติม  เช่น พระวิษณุ  และพระศิวะ  ส่วนเทวดาเก่า ในสมัยพระเวท ก็ลดความสำคัญลง เช่น  พระอินทร์ บางอค์ถูกทอดทิ้ง เช่น พระอัคนี พระวรุณ  เป็นต้น

ต่อมานักปราชญ์พราหมณ์ คนสำคัญ คือ ศังกรายจารย์ เห็นว่า ศาสนาพราหมณ์ จะอยู่ไม่ได้ เนื่องจากคนหันไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ พราหมณ์เอง พราหมณ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านหันไปพุทธมามกะ  เช่น  พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ  พระมหากัสสปะ และคนอื่น ๆ  อีกมากมาย  สังกรายจารย์ จึงไปศึกษาคำสอนของพุทธศาสนา แล้วเอามาดัดแปลงเข้ากับศาสนาพราหมณ์ แล้วเรียกใหม่ว่า ฮินดู  ซึ่งแปลว่า  ศาสนาของชาวอินเดียว  คือ รวมทุกศาสนา ที่มีอยู่ ในอินเดียวว่า เป็นฮินดูหมด  พระพุทธเจ้า ก็เป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ ที่เรียกว่า นารายณ์อวตาร คือ เป็นปางที่ 9 ปางพุทธมายา  แล้วแบ่งคำสอนเลียนแบบพุทธ ว่า ตรีมูรติ (เลียนแบบ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ =  ไตรรัตน์) ซึ่งแปลว่า รูปสาม  สอนว่า เทพเจ้าที่สำคัญมี  3  องค์  คือ พระพรหม  พระวิษณุ (พระนารายณ์) และพระศิวะ  เทพเจ้าทั้งสามพระองค์นี้ แท้จริงเป็นองค์เดียวกัน  แต่แบ่งภาคออกเป็น 3 องค์ เพื่อทำหน้าที่สามประการ คือ พระพรหม มีหน้าที่สร้างสรรค์ พระวิษณุ มีหน้าที่ทะนุบำรุง เลี้ยงดู (นารายณ์อวตาร ลงมาปราบมาร) พระศิวะ มีหน้าที่ทำลาย

สมัยก่อนในศาสนาพราหมณ์ จะไม่มีวัด แต่จะเป็นเทวสถาน และไม่มีนักบวช หรือ ที่เรียกว่า พระ  ศาสนาพราหมณ์ จะคล้าย ๆ  กับ ศาสนาอิสลาม  คือ  มีครอบครัว มีลูกมีเมียได้  เป็นเศรษฐี  เป็นฏุฎุมพี  เป็นยาจก  เป็นชาวนา  ก็มีทั้งนั้น  เมื่อสังกราจารย์  เลียนแบบพุทธ  จึงมีวัด  มีนักบวช

65 พระนารายณ์เกษียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอมฤต67  วัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

อ้างอิง  http://allknowledges.tripod.com/brahmin.html

 

ใส่ความเห็น